ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051156 ศาลรัฐธรรมนูญกับการปรองดองtapranksan.klunkpudsa12 ตุลาคม 2558

    คำถาม
    ศาลรัฐธรรมนูญกับการปรองดอง
    ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าต้องตัดสินตามกฎหมายผิดว่าไปตามผิดเพื่อเป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ทำอะไรก็ได้ ขอแค่มีข้างมาก. อีกข้างหนึ่งก็บอกว่า โดนกลั่นแกล้ง ศาลสองมาตรฐาน ศาลมีธง ศาลโดนสั่ง . 
    ดังนั้นการจะปรองดองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญคือการออกแบบที่ให้ศาลเป็นอิสระไม่ควรมีตัวแทนที่มีที่มาจากฝ่ายการเมืองขั้วไหนๆ ทั้งสิ้น  .
    ศาลปกครองและศาลยุติธรรมนั้นเป็นศาลอาชีพ ที่เป็นสถาบันที่เป็นอิสระอันนั้นถือว่าเป็นมาตรฐานสากล. แต่ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการกลับมีสัดส่วนที่มาจากฝ่ายการเมือง แทนที่จะมาจากฝ่ายศาลเท่านั้น .รัฐธรรมนูญปี40ศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาจากฝ่ายบริหาร3คนฝ่ายนิติบัญญัติ3คนฝ่ายตุลาการ3คน ทำให้มาจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลถึง6คน ฝ่ายตุลาการแค่3คน ผลคือศ่ลรัฐธรรมนูญเป็นพวกเดียวกับพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทำอะไรรัฐบาลไม่ได้เลย. ส่วนรัฐธรรมนูญปี50กำหนดให้มาจากวุฒิสภา4คนจากฝ่ายศาล5คน โดยที่องค์กรอิสระ มีป.ป.ช.เป็นต้นมาจากการแต่งตั้งโดยวุฒิสภา ทำให้โดนข้อครหาว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุติธรรม เพราะคนไต่สวนฟ้องร้องและตัดสินคดีเป็นพวกเดียวกันมีที่มาจากที่เดียวกันคือวุฒิสภา. ซึ่งผิดหลักการที่ต้องแบ่งแยกอำนาจบริหารคือการไต่สวนส่งฟ้อง แยกต่างหากจากอำนาจตุลาการคือการตัดสินคดี ห้ามมาจากองค์กรเดียวกัน ตามหลักการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เหมือนตำรวจจับคนร้ายไต่สวนเองส่งฟ้องเองตัดสินเอง .ผมจึงขอเสนอว่าศาลรัฐธรรมนูญใหม่ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มาจากการเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดอย่างล่ะคน มาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาอย่างล่ะคน เป็นสี่คน และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชนหนึ่งคนมาจากที่ประชุมใหญ่ร่วมของทั้งศาลปกครองสูงสุดและศาลฎีกา เป็นองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และให้มีตัวแทนศาล ให้มีผู้พิพากษาจากศาลปกครอง2คน ศาลฎีกา2คน ร่มเย็น9คน. 

    เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นอิสระจากฝ่ายการเมืองและมีความชอบธรรมกว่าที่ผ่านมามากขึ้น  น่าจะช่วยในเรื่องการปรองดองได้ดีขึ้น เพราะศาลรัฐธรรมนูญน่าเชื่อถือกว่าเดิม

    พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลทำหน้าที่กำหนดนโยบายและทำตามนโยบาย โดยใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติผ่านทางคณะรัฐมนตรีและสภาผู้แทนราษฎร.
    วุฒิสภา ทำหน้าที่ ตรวจสอบด้วยองค์คณะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆตัวแทนฝ่ายต่างๆ จังหวัดต่างๆ โดยใช้อำนาจตรวจสอบ ไต่สวน ส่งฟ้อง ถอดถอน ผ่านวุฒิสภาและองค์กรอิสระ.
    ศาลทำหน้าที่ตัดสินคดี 

    แต่ล่ะองค์กรต่างทำหน้าที่และคานอำนาจกันเอง ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญที่มาขององค์คณะทั้งหมดจึงควรมาจากองค์กรศาลทั้งหมดครับ
    คำตอบ
    เป็นแนวคิดที่น่าสนใจอย่างมาก จะได้นำส่งให้ กรธ พิจารณา
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 ตุลาคม 2558