ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
  • นานาสาระ
  • คำสำคัญ
     
    กลับไปหน้า ลิสต์

     
    นานาสาระ

    เซอร์ไอแซค นิวตัน

    เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษ เกิดในฟาร์มแห่งหนึ่งในลินคอร์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1642 บิดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ จึงอยู่ในความเลี้ยงดูของมารดา จนกระทั่งมารดาแต่งงานใหม่ ครอบครัวของไอแซค นิวตัน เป็นครอบครัวชาวนาที่ยากจน เมื่อยังเด็กไอแซค นิวตัน ไม่ค่อยสนใจศึกษาเล่าเรียน มารดาจึงอยากให้เขาช่วยงานในไร่นาน แต่เขาไม่ชอบงานเช่นนี้ กลับนิยมเล่นของเล่นประเภทเครื่องจักรกล และสามารถประดิษฐ์ของเล่นเองได้ เช่น โรงสีลมจำลอง ที่สามารถขับเครื่องจักรให้หมุนได้ และนาฬิกาน้ำ เป็นต้น

    พออายุ 15 ปี ไอแซค นิวตัน เริ่มเอาใจใส่การเรียนอย่างจริงจังจนสามารถสอบไล่เป็นที่หนึ่งของชั้นทุกปี ต่อมาได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้าทำหน้าที่อาจารย์สอนคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เมื่ออายุได้ 26 ปี ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปิดชั่วคราว ไอแซค นิวตัน จึงเดินทางกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งที่นี่ ไอแซค นิวตัน ได้ค้นพบกฎแรงดึงดูดหรือกฎแรงโน้มถ่วงของโลก จากการสังเกตลูกแอ๊ปเปิลหล่นจากต้น เขาจึงสรุปได้ว่า โลก ดาวเคราะห์ และดวงอาทิตย์ ต่างมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ซึ่งการคิดค้นกฎแห่งการเคลื่อนที่ของไอแซค นิวตัน ทำให้สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ได้อย่างมากมาย และเป็นที่มาของ กฎแห่งแรงโน้มถ่วง ซึ่งกล่าวว่า มีแรงชนิดหนึ่งกระทำระหว่างวัตถุสองชิ้น เช่น โลกกับดวงอาทิตย์ แรงนี้จะแปรผกผันกับระยะทางกำลังสองระหว่างดาวทั้งสองและจะแปรตามมวลของวัตถุทั้งสองนั้น และต่อมาได้ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของวัตถุอีกด้วย

    นอกจากนี้ ไอแซค นิวตัน ยังได้ทดลองนำแท่งแก้วสามเหลี่ยม หรือปริซึมมาวางรับแสงแดดซึ่งทำให้ได้พบปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ ซึ่งพบว่าลำแสงสีขาวของดวงอาทิตย์แท้จริงแล้วประกอบขึ้นจากแสงสีต่างๆ ถึงเจ็ดสี และค้นพบวงสีที่เกิดจากการซ้อนทับของกระจกสองแผ่น ทั้งสองนี้เขานำมาสร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงขึ้นเป็นคนแรก ซึ่งกล้องนี้มีความยาวเพียง6นิ้ว แต่ให้กำลังขยายถึง 40 เท่า และมองภาพได้ชัดเจนกว่ากล้องโทรทรรศน์แบบเดิม

    ไอแซค นิวตัน ได้รับตำแหน่งศาสตร์จารย์ทางคณิตศาสตร์ ในมหาวิทยาลัย และเป็นผู้พัฒนาคณิตศาสตร์แขนงใหม่หรือแคลคูลัส ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ชั้นสูง อันเป็นประโยชน์ต่อทางวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ไอแซค นิวตัน ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ และปรัชญาไว้หลายเล่ม ซึ่งทุกเล่มยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่หาสมุดวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ

    นอกจากนี้ ไอแซค นิวตัน เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาอยู่ระยะหนึ่งและเคยได้รับ ตำแหน่งหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก และได้รับเชิญเป็นสมาชิกราชสมาคมวิทยาศาสตร์ของอังกฤษ จนกระทั่งได้เป็นประธานของสมาคม ในที่สุด เมื่ออายุ 63 ปี ไอแซค นิวตัน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ขุนนางเป็น "เซอร์ไอแซค นิวตัน" นับเป็นเกียรติประวัติสูงสุดแก่นักวิทยาศาสตร์ ผู้อุทิศตนเองแก่การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่หยุดนิ่งตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เซอร์ไอแซค นิวตัน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่31 มีนาคม ปีคศ. 1727 อายุได้ 85 ปี ศพของเซอร์ไอแซค นิวตัน ถูกนำไปฝังยังสุสานวิหารเวสมินเตอร์และได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่วิทยาลัยเคมบริดจ์ สมเกียรติของนักวิทยาศาสตร์บุคคลสำคัญของโลกอย่างยิ่ง


    1 พฤศจิกายน 2548