ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
  • นานาสาระ
  • คำสำคัญ
     
    กลับไปหน้า ลิสต์

     
    นานาสาระ

    พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

    วันพืชมงคล หมายถึง วันที่กำหนด พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราช พิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญ และกำลังใจแก่เกษตรกรของชาติ พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัล แรกนาขวัญเป็น พระราชพิธี ๒ พิธี รวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคลอันเป็นพิธีสงฆ์อย่างหนึ่ง กับพระราชพิธีจรด พระนังคัลแรกนาขวัญอันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง พระราชพิธีพืชมงคลนั้น จะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจะ ประกอบพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑล ท้องสนามหลวง

    พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆว่า พิธีแรกนา เป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณ ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่ง ในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเองเป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้นถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้ เสด็จไปเป็นองค์ประธานเหมือนสมัยกรุงสุโขทัย แต่จะมอบอาญาสิทธิให้โดย ทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์และ จะทรงจำศีลเงียบ ๓ วัน ซึ่งวิธี นี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

    พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการเพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญ เกษตรกรกำหนดจัดขึ้นในเดือนหก ของทุกปี ซึ่งระยะนี้เป็นระยะเหมาะสมที่จะ เริ่มต้นการทำนาอันเป็นอาชีพหลัก ของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่ แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราช พิธีอื่นๆ ส่วนจะเป็นวันใดในเดือนหก หรือเดือนพฤษภาคมที่มีฤกษ์ยามเหมาะ สมต้องตามประเพณีก็ให้จัดขึ้นในวันนั้น

    สำหรับการจัดงานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้กระทำ เต็มรูปบูรพประเพณีครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ แล้วก็ว่างเว้นไป จนกระทั่งใน ปี พ.ศ.๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้น ฟูพระราชประเพณีนี้ขึ้น ใหม่และได้ กระทำติดต่อกันมาทุกปีจนปัจจุบัน ด้วยเห็นว่าเป็นการรักษาพระราชประเพณี อันดีงาม มีผลในการบำรุงขวัญและจิตใจ ของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว องค์พระประมุขปัจจุบันทรงมีพระราช กระแสให้มีการปรับปรุงพิธีการบาง อย่างให้เหมาะสมกับยุคสมัย และเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานใน พระราชพิธีนี้ทุกปีสืบมามิได้ขาด

    ทั้งนี้ พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทำขวัญพืชพรรณธัญญาหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารแห่งราชอาณาจักรไทย ข้าวนั้นถือว่าเป็นอาหารหลักของประชาชน ในภาษาบาลีเรียกว่า ปุพพัณณะ หรือบุพพัณณะ หรือบุพพัณณชาติ ส่วนพืชอื่นๆ ที่เป็นอาหารเรียกว่า อปรัณณ หรืออปรัณชาติ หมายถึงพืชที่เป็นอาหารทุกชนิด บุพพัณณชาติ ที่นำเข้าพิธีพืชมงคลนั้นเป็นข้าวเปลือก มีทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้มีเมล็ดพืชต่างๆรวม ๔๐ อย่าง แต่ละอย่างบรรจุถุงผ้าขาว กับเผือกมันต่างๆ พันธุ์พืชเหล่านี้เป็นของปลูกงอกได้ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีข้าวเปลือกที่หว่านในพิธีแรกนาบรรจุกระเช้าทองคู่หนึ่งและเงินคู่หนี่งเป็นข้าวพันธุ์ดีที่โปรดฯให้ปลูกในสวนจิตรลดา และพระราชทานมาเข้าพิธีพืชมงคล พันธุ์ข้าวพระราชทานนี้จะใช้หว่านในพระราชพิธีแรกนาส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งที่เหลือทางการจะบรรจุซองแล้วส่งไปแจกจ่ายแก่ชาวนาและประชาชนในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นมิ่งขวัญและเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกในปีนี้

     

    อนึ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัยนี้เป็นวันเกษตรกร ประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรพึงระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร และร่วมมือกันประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาชีพของตน ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศชาติ จึงได้มีการจัดงานวันเกษตรควบคู่ไปกับงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญตลอดมา


    ข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
    http://www.culture.go.th

     


    10 พฤษภาคม 2549