ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
  • นานาสาระ
  • คำสำคัญ
     
    กลับไปหน้า ลิสต์

     
    นานาสาระ

    ความรู้เกี่ยวกับ การจดทะเบียนบริษัทที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ (British Virgin Island)
    ความรู้เกี่ยวกับ การจดทะเบียนบริษัทที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ (British Virgin Island)

    ทำไมต้องบริทิช เวอร์จิน ?
    ในขณะที่การตกลงซื้อขายหุ้นบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งของไทยให้แก่บริษัทต่างชาติ กลายเป็นข่าวใหญ่ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียนั้น หลายต่อหลายฝ่ายมุ่งเป้าไปที่จิ๊กซอว์สำคัญตัวหนึ่งที่เป็นบริษัทจดทะเบียนที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ (British Virgin Island) หรือที่หลายคนเรียกโดยย่อว่า BVI และหากท่านผู้อ่านติดตามข่าวสารบ้านเมืองทั้งของไทยและเทศในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ก็มักจะได้ยินอยู่เสมอว่ามีบริษัทที่จะทะเบียนในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เกี่ยวพันกับข่าวสำคัญๆอยู่เสมอ แต่น้อยคนนักที่จะบอกได้ว่าบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์อยู่ที่ไหน มีดีอย่างไร ทำไมผู้คนจึงชอบไปจดทะเบียนตั้งบริษัทที่นั่น ข่าวสารพัฒนากฎหมายฉบับนี้จึงจะพาท่านไปไขข้อข้องใจที่ว่านี้กันเสียที

    รู้จักกันก่อน
    บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เป็นเขตปกครองตนเองในอาณัติของอังกฤษ เป็นหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนอันสวยงามห่างจากเปอร์โต ริโก ไปทางตะวันออกประมาณ 95 กิโลเมตร ประกอบก้วยเกาะเล็กเกาะน้อยรวมกันกว่า 50 เกาะ ซึ่งมีเนื้อที่รวมกันประมาณ 155 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น หมู่เกาะบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์นี้มีประชากรรวมกันเพียงประมาณ 21,000 คนเท่านั้น (ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549) โดยกระจายอยุ้ตามเกาะแก่งต่างๆ แต่โดยมากอยู่รวมกันที่เกาะทอโทล่า (Tortola) ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงคือ เมืองโร้ดทาวน์ (Road Town) และโดยที่เป็นเกาะสวยงามในแคริบเบียน ประชาชนโดยมากจึงมีอาชีพทางประมง การท่องเที่ยว และบริการอื่นๆที่เกี่ยวกับการประมงและการท่องเที่ยว

    ระบบกฎหมายและภาษีอากร
    เนื่องจากเป็นเขตปกครองตนเองในอาณัติของอังกฤษ ระบบกฎหมายของบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ จึงเป็นระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ ผู้อุทธรณ์สามารถฎีกา Privy Council ของอังกฤษได้ สำหรับรายได้หลักของรัฐบาลได้แก่ ภาษีเงินได้ อากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต ค่าธรรมเนียมการอนุญาตต่างๆ และค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบริษัท แต่ไม่มีการจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีกำไรจากการขาย (Capital Gain Tax) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้าไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่นั่นเป็นจำนวนมาก และนอกจากจะไม่มีการจัดเก็บภ๊ากำไรจากการขาย (Capital Gain Tax) แล้ว การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของชาวต่างชาติที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ยังทำได้ง่ายมากและรวดเร็วกว่าที่อื่นใดในโลก รวมทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการทำธุรกิจเป้นอย่างมากอีกด้วย อันทำให้รับบาลบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจาก “ธุรกิจ” ดังกล่าวด้วย

    กฎหมายจัดตั้งบริษัทของชาวต่างชาติ
    เดิมทีเดียวบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เป็นเมืองประมงและท่องเที่ยวขนาดเล้กและประชาชนมีรายได้หลักจากการประมงและท่องเที่ยว รายได้จากภีอากรที่รับบาลนำมาพัฒนาประเทศจึงมีไม่มากนัก แต่เมื่อมีการตรากฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของชาวต่างชาติ (International Business Companies Ordinance (IBC) ขึ้นมนปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527) หมู่เกาะเล็กๆที่สวยงามแห่งนี้จึงกลายเป็นสวรรค์ของนักธุรกิจ เพราะทำให้การจัดตั้งและการประกอบการของบริษัทอันเป็นเรื่องลำบากยากเย็นตามกฎหมายของหลายประเทศ กลายเป็นเรื่องง่ายๆ ในพริบตา โดยหากคำนวณความสำเร็จของกฎหมายนี้จากมิติ “จำนวนของบริษัทต่างชาติ” ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายนี้ อาจกล่าได้ว่าไม่มีกฎหมายบริษัทของประเทสใดในโลกที่ประสบความสำเร็จมากดท่านี้ เพราะนับตั้งแต่ตรากฎหมายนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2527 จนถึงปี พ.ศ. 2546 (19 ปี) ปรากฏว่ามีชาวต่างชาติไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ แล้วมากกว่า 600,000 บริษัท เฉลี่ยปีละประมาณ 31,578 บริษัทต่อปี หรือประมาณวันละ 87 บริษัททีเดียว!!!

    สาระสำคัญของการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
    การจัดตั้งบริษัทโดยชาวต่างชาติที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ตามกฎหทมาย IBC นั้น มีสารสำคัญดังนี้
    • ต้องมีผู้ก่อตั้ง ผู้ถือหุ้น และกรรมการผู้จัดการ อย่างน้อย 1 คน แต่อาจเป็นคนๆเดียวกันก็ได้
    • ไม่จำเป็นต้องมีพนักงาน
    • ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้จัดการ และพนักงานนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ และจะมีสัญชาติใดๆก็ได้
    • การประชุมผุ้ถือหุ้น หรือการประชุมกรรมการบริษัทจะทำที่ใดๆในโลกก็ได้ ไม่ต้องทำที่บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ และจะทำโดยการประชุมทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดก็ได้ และการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้นหรือกรรมการบริษัทจะทำผ่านผู้รับมอบอำนาจ (Proxy) ก็ได้
    • ไม่จำเป็นต้องมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี
    • ไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ แต่ต้องแตกเป็นหุ้น ดดยจะแตกเป็นหุ้นเดียวหรือหลายหุ้นก็ได้
    • หุ้นที่แตกออกมาจะกำหนดมูลค่าที่ตราไว้ (Par value) หรือไม่ก็ได้ และจะกำหนดมูลค่าหุ้นเป้นเงินตราสกุลใดก็ได้ และกี่สกุลเงินก็ได้ (ถ้าไม่กำหนดมูลค่าที่ตราไว้เลยจะเสียค่าธรรมเนียนจดทะเบียนเพียง 50USD (ประมาณ 2,000 บาท)
    • การขายหุ้นต้องขายอย่างน้อยหนึ่งหุ้นและทุนจดทะเบียนชำระแล้วต้องเป็นกาชำระค่าหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น
    • การชำระมูลค่าหุ้นไม่จำต้องชำระเป็นเงินสด แต่อาจชำระเป็นค่าตอบแทน (Consideration) อื่นใดก็ได้
    • การออกหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้น (Bearer form) สามารถทำได้ และการโอนหุ้นสามารถทำได้โดยวิธีการส่งมอบใบหุ้น
    • หากรับบาลต่างประเทศขอให้อายัดหุ้นหรือผลประโยชน์อื่นใดของบริษัทที่จัดตั้งตามกฎหมายนี้เพราะเหตุการดอนเป็นของรัฐ การเวนคืน การบังคับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระ บริษัทหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าวสามารถร้องขอต่อศาลบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เพื่อมีคำสั่งถอนการอายัดและให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังคงเป็นผู้ถือหุ้นที่ชอบด้วยกฎหมายต่อไปได้
    • บริษัทสามารถซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นและถือไว้เองในฐานะหุ้นซื้อคืน (Treasury share) ก็ได้
    • บรรดาบัญชีและเอกสารต่างๆนั้น ให้เก็บไว้เพียงเท่าที่กรรมการผู้จัดการเห็นว่าจำเป็นต้องเก็บเท่านั้น และจะเก็บไว้ที่ใดในโลกก็ได้
    • บริษัทไม่ต้องแสดงงบการเงินและบัญชี และไม่จำต้องส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบ
    • สำนักทะเบียนบริษัทจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้จัดการเมื่อได้รับการร้องของจากบริษัท
    • บริษัทต้องส่งหนังสือบริคณฑ์สนธิ หนังสือจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ข้อบังคับบริษัท และเอกสารการมอบอำนาจให้แก่ผู้รับมอบอำนาจ เพื่อเก็บไว้ที่สำนักทะเบียนบริษัท แต่เอกสารเหล่านี้ไม้ต้องระบุรายละเอียดของกรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้น และบริษัทไม่ถูกบังคับให้ต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทไว้ในหัวกระดาษ
    • การแก้ไขหนังสือบริคณฑ์สนธิทำได้ง่าย โดยมติที่ประชุมคณะกรรมการซึ่งต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งและต้องเรียกประชุมล่วงหน้า 3 วัน
    • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถทำได้ภายใน 24 ชั่วโมง
    • ท้ายชื่ของบริษัทต้องลงท้ายด้วยคำว่า Corporation, Incorporation, Limited, Societe Anonyme หรือ Sociedad (หรือตัวย่อ Corp.,Inc.,Ltd.,S.A.)

    สิทธิประโยชน์ทางภาษี
    บริษัทของชาวต่างชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย International Business Companies Ordinance นี้ได้รับยกเว้นภาษีต่างๆของบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ และได้รับยกเว้นค่าอากรสำหรับการทำธุรกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหุ้น หรือการประกันการชำระหนี้ของบริษัทและในส้วนที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการของบริษัท อนึ่ง แม้บริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนที่อังกฤษทำกับญี่ปุ่นและสวิสเซอร์แลนด์ โดยผลของ Coat-tail provisions ของอนุสัญญาดังกล่าว แต่จริงๆแล้ว บริษัทของชาวต่างชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย IBC ไม่ได้รับประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนดังกล่าวเลย เนื่องจากบริษัทของชาวต่างชาตินั้นได้รับยกเว้นภาษีต่างๆของบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ไปหมดแล้ว

    ข้อจำกัดการประกอบการ
    กฎหมาย  International Business Companies Ordinance นั้นเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการชาวต่างชาติอย่างแท้จริงเพราะตั้งง่าย ได้ประโยชน์ทางภาษี แต่มิใช่ว่าจะตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการใดๆก้ได้ กฎหมายที่ว่านี้ห้ามมิให้บริษัทของชาวต่างชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายดังกล่าวประกอบกิจการเกี่ยวกับการเงิน เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน ฯลฯ และการประกันภัย และมีข้อสังเกตว่างบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ กลับห้ามมิให้บริษัทของชาวต่างชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายดังกล่าวประกอบกิจการและถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เว้นแต่
    • การฝากเงินไว้กับธนาคารในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
    • การเก็บรักษาเอกสารเกี่ยวกับบริษัทในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
    • การประชุมกรรมการหรือผู้ถือหุ้นในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
    • เช่าสถานที่เพื่อใช้เป็น Office ในในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
    • ถือกรรมสิทธิ์ในเรือที่จดทะเบียนในในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์
    • ถือหุ้นในบริษัทอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย IBC

    สรุป
    แม้หลักเกณฑ์การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทตามกฎหมาย International Business Companies Ordinance ของในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ หลายข้อจะดูน่าสนใจ เช่น การประชุมผู้ถือหุ้นหรือการประชุมกรรมการบริษัทจะทำที่ใดๆในโลกก็ได้ และจะทำโดยการประชุมทางโทรศัพท์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดก็ได้ เป็นต้น แต่หลักเกณฑ์อีกจำนวนมากดูจไม่สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Good Governance) อย่างเห็นได้ชัด จนกระทั่งในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ เองก็เปิดให้บริษัทของชาวต่างชาติที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายดังกล่าวประกอบธุรกิจในในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ ได้เพียงบางอย่างเท่านั้น และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้คนทั่วโลกมักจะตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนเสมอว่า บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของในบริทิช เวอร์จิน ไอร์แลนด์ นั้น อาจจะมีอะไรบางอย่างแอบซ่อนอนู่

    ฝ่ายพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
    10 กุมภาพันธ์ 2549